วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่5.8


 ใบงานที่ 5.8 
การสร้ากรอบภาพโดยใช้ Modify
คำสั่ง ให้นักเรียนสร้างกรอบภาพโดยใช้ Stroke จำนวน 2 ภาพ save ไฟล์รูปเป็น jpg แล้วส่งมาหาคุณครู






การสร้ากรอบภาพโดยใช้ Modify

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ผักสวนครัว-รั้วกินได้


พืชผักสวนครัว-รั้วกินได้
การปลูกพืชผักสวนครัว มีความสำคัญเป็นอันดับแรกของชีวิตประจำวัน เพราะใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ดี ถ้าปลูกมากมีเหลือก็จำหน่ายได้ และสามารถยึดเป็นอาชีพได้ ขอให้มีความยึดมั่นในธรรมชาติ มีความขยัน และอดทน การปลูกพืชผักสวนครัวมีหลักปฏิบัติ 5 ประการ


  1. การเลือกเมล็ดพันธุ์
    เมล็ดพันธุ์มีความจำเป็นในการเริ่มต้นในการเพาะปลูก จึงควรศึกษาเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดี แข็งแรง ไม่เป็นโรคง่าย คัดสรรแล้วเก็บรักษาไว้อย่างดีก่อนปลู
  2. การเตรียมดินคุณภาพของดิน จะเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโตของพืช การให้อาหารแก่ดินด้วยปุ๋ยชีวภาพจะทำให้ดินมีชีวิตและช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุในดิน ให้ดินอุดมพร้อมแก่การเพาะปลูก
  3. การปลูก
    3.1การปลูกด้วยเมล็ด
     -นำเมล็ดไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ ประมาณ 30 นาที หากผิวเมล็ดแข็งให้แช่นานหน่อย
     -แหวกหญ้าหรือฟางที่คลุมออก
     -ใช้ไม้กระดานหน้า 1/2 x 2 นิ้ว กดเป็นรอยลึก 1-2 เซนติเมตร
     -หยอดเมล็ดตามรอยที่กดไว้
     -คลุมฟางเหมือนเดิม
     -รดน้ำเช้าเย็น
     -2 วันแรกให้รดด้วยปุ๋ยน้ำช่วงเย็นวันละ 1 ครั้ง หลัง จากนั้น ให้รดปุ๋ยน้ำ 3 วัน / ครั้ง นอกนั้นรดน้ำปกติ
       
    3.2ปลูกด้วยกล้า
     การเพาะกล้ามี 2 ชนิด คือ
      เพาะด้วยกะบะ
     -อาจเป็นภาชนะสำเร็จรูป หรือใช้ไม้ 1/2 x 2 นิ้ว หรือวัสดุอื่น ทำเป็นกระบะขนาด 50 x 50 หรือ 50 x 70 หรือ 50 x 100 เซนติเมตร ให้สามารถยกย้ายและวางบนพื้นได้สะดวก
     -ผสมปุ๋ยแห้งกับดินร่วน แกลบเผา อัตราส่วน 1 : 5 : 3 ลงในกระบะ
     -หยอดเมล็ดหรือหว่านเมล็ดให้ทั่วอย่าให้แน่นเกินไป
     -คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางบางๆ
     -รดด้วยปุ๋ยน้ำให้ชุ่ม
     -จากนั้นรดน้ำ เช้า-เย็น
     -รดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นติดต่อกัน 3 วัน หลังจากนั้นรดปุ๋ยน้ำ 3 วัน/ครั้ง
       
      การเพาะในแปลง
     -นำปุ๋ยแห้งและแกลบเผาผสมในดิน ในแปลง คลุกให้ทั่ว ทำหน้าดินให้ละเอียด
     -หยอดเมล็ด หรือ โรยเมล็ด
     -คลุมด้วยหญ้าแห้งหรือฟางแห้งบางๆ
     -รดปุ๋ยน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง
     -รดน้ำ เช้า - เย็น
     -3 วันแรกรดปุ๋ยน้ำช่วงเย็นทุกวัน หลังจากนั้นรด 3 วัน/ครั้ง วันปกติรดน้ำธรรมดา
  4. การดูแลรักษา 
    -ผักเกือบทุกชนิดเพาะกล้าก่อนปลูกจะดี เพราะถ้าให้ร่นระยะเวลาในการลงปลูก สามารถปลูกได้หลายรุ่น และดูแลรักษาง่ายยกเว้นพืชผักที่ย้ายกล้าไม่ได้ เช่น แครอท หัวผักกาด การปลูกด้วยกล้า ทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย ดีกว่าปลูกด้วยเมล็ดแล้วต้องถอนทิ้งเมื่อผักแน่นเกินไป
    -ปกติจะใส่ปุ๋ยแห้งครั้งเดียว แต่ถ้าผักมีอายุยาวเกิน 50 วัน ให้สังเกตว่าผักไม่สวย ไม่สมบูรณ์ ก็ใส่ปุ๋ยแห้งได้ระหว่างแถว ไม่ให้ถูกต้นพืชผัก
    -การเตรียมแปลงดี ผักจะเจริญเติบโตเสมอกันทั้งแปลงผักต้นใดมีโรคให้งดน้ำ และรดด้วย EM สด ขยาย ผสมน้ำ 50 เท่า ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงให้น้ำต่อ
    -ผักมีหัวให้ขุดแปลงลึกๆ แหวะท้องหมูบ่อยๆ และใส่ปุ๋ยแห้งผสมให้ดี
    -การรดน้ำ ควรใช้บัวรดน้ำรูเล็กๆ ให้เป็นฝอยได้มากเท่าไรยิ่งดี
    -ไม่ควรรดน้ำด้วยสายยางที่น้ำพุ่งแรงๆ จะทำให้ผักนอนราบ โดยเฉพาะผักกาดขาวจะห่อใบยาวขึ้นหากถูกน้ำซัดแรงๆ ทุกวัน
    -พ่นด้วยสารไล่ศัตรูพืช หรือ สารป้องกันเชื้อรา ทุกๆ 3 วัน
      
    ข้อสังเกตุ เพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชโดยธรรมชาติ ควรปลูกผักกาดหอม ผักชีใบแหลม ปนกับผักอื่นๆ ปลูกต้นดาวเรือง ตะไคร้หอม ผกากรองไว้เป็นรั้ว และใช้ใบตะไคร้หอมมาคลุมแปลงผักจะป้องกันแมลงรบกวนได้ด้วย
  5. การเก็บผลผลิต - การจำหน่าย
การเก็บผลผลิตควรดำเนินไปตามอายุของผักแต่ละประเภท และหาก ปลูกโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพดังกล่าวข้างต้น ควรเก็บก่อนกำหนด เล็กน้อยเพราะ
-ผักธรรมชาติเจริญเติบโตเร็ว
-ร่นระยะเวลาปลูก ลดแรงงาน และรายจ่าย
-หากเก็บช้าหรือเกินอายุทำให้ผักมีภูมิต้านทานต่ำเกิดโรคได้
-การเก็บควรใช้วิธีตัด ยกเว้นผักหัวใช้ถอน
-ผักที่เป็นผลควรเก็บอย่างปราณีต เพื่อให้โอกาสเกิดผลใหม่อีก เช่น ถั่ว แตง
-ผักทั่วไปเก็บแล้วล้างให้สะอาด บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย
-ผักที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว เก็บแล้วไม่ต้องล้าง ไม่ต้องพรมน้ำ

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การจัดทำงบประมาณ


ความเป็นมาของงบประมาณ




การจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบันได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษประมาณคริสศตวรรษที่16-17 ซึ่งเป็นสมัยที่สภาผู้แทนราษฎรได้ประสบความสําเร็จในการสงวนอํานาจที่จะอนุมัติรายได้และรายจ่ายของรัฐบาลซึ่งจะเห็นได้ว่าการจัดทํางบประมาณในแบบปัจจุบันมีความสัมพันธ์กัวิวัฒนาการการปกครอง ต่อมาได้มีการนำแบบอย่างมาจัดทำงบประมาณขึ้นในหลายประเทศ สำหรับประเทศไทยการจัดทํางบประมาณนั้น รัฐบาลได้เริ่มทําขึ้นก่อนและต่อมาได้ขยายขอบเขตไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชน



ความหมายของงบประมาณ  



ความหมายของงบประมาณจะแตกต่างกันออกไปตามกาลเวลาและลักษณะการให้ความหมายของนักวิชาการแต่ละด้าน ซึ่งมองงบประมาณแต่ละด้านไม่เหมือนกัน เช่น นักเศรษฐศาสตร์ มองงบประมาณในลักษณะของการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จํากัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นักบริหารจะมองงบประมาณในลักษณะของกระบวนการหรือการบริหารงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยบรรลุเป้าหมายของแผนงานที่วางไว้ นักการเมืองจะมองงบประมาณในลักษณะของการมุ่งให้รัฐสภาใช้อำนาจควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล

ความหมายดั้งเดิม งบประมาณหรือ Budget ในความหมายภาษาอังกฤษแต่เดิม หมายถึง กระเป๋าหนังสือใบใหญ่ที่เสนนาบดีคลังใช้บรรจุเอกสารต่าง ๆ ที่แสดงถึงความต้องการของประเทศและทรัพยากรที่มีอยู่ในการแถลงต่อรัฐสภา ต่อมาความหมายของ Budget ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนจากตัวกระเป๋าเป็นเอกสารต่าง ๆ ที่บรรจุในกระเป๋านั้น

สรุปความหมายของงบประมาณ หมายถึง แผนเบ็ดเสร็จ ซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินแสดงโครงการดำเนินงานทั้งหมดในระยะหนึ่ง รวมถึงการกะประมาณการบริหารกิจกรรม โครงการและค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุน การดำเนินงานให้บรรลุตามแผนนี้ย่อมประกอบด้วยการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ (1) การจัดเตรียม (2) การอนุมัติและ (3) การบริหาร



วัตถุประสงค์ของงบประมาณ





งบประมาณจะมีขอบเขตตามสภาพขององค์การหรือตามหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรมหรือตามขอบเขตของกิจกรรม เช่น การขายหรือการหารายได้ การผลิต เป็นต้น ซึ่งขอบเขตของงบประมาณจะมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ทำให้องค์การมีการวางแผน ซึ่งเป็นการบังคับให้หน่วยงานต่างๆต้องวางแผนการดำเนินงานตามแนวที่กำหนดไว้

2. ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ ซึ่งงบประมาณจะเปลี่ยนแผนต่างๆให้อยู่ในรูปตัวเลขทำให้เห็นภาพชัดเจน

3. ทำให้สามารถประเมินผลการปฏิบัติงาน เนื่องจากงบประมาณเป็นมาตรฐานของหน่วยงาน

4. ทำให้เกิดการระมัดระวังในการใช้จ่าย การจัดทำงบประมาณจะทราบถึงขอบเขตการใช้จ่ายในหน่วยงาน

5. ทำให้มีผลการดำเนินงานและฐานะการเงินตามเป้าหมาย

6. ทำให้เกิดการประสานงานองค์การ งบประมาณเป็นการรวมแผนต่างๆ ขององค์การเข้าด้วยกัน



ความสำคัญและประโยชน์ของงบประมาณ



งบประมาณมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารหน่วยงานสามารถนำเอางบประมาณมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า ความสำคัญและประโยชน์ของงบประมาณมีดังนี้

1) ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารหน่วยงาน ตามแผนงานและกำลังเงินที่มีอยู่โดยให้

มีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้เพื่อป้องกันการรั่วไหลและการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นของหน่วยงานลดลง

2) ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงาน ถ้าหน่วยงานจัดงบประมาณการใช้จ่ายอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ จะสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก่หน่วยงานและสังคมโดยหน่วยงานต้องพยายามใช้จ่ายและจัดสรรงบประมาณให้เกิดประสิทธิผลไปสู่โครงการที่จําเป็นเป็นโครงการลงทุนเพื่อก่อให้เกิดความก้าวหน้าของหน่วยงาน

3) เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากทรัพยากรหรืองบประมาณของหน่วยงานมีจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรหรือใช้จ่ายเงินให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการวางแผนในการใช้และจัดสรรเงินงบประมาณไปในแต่ละด้าน และมีการวางแผนการปฏิบัติงานในการใช้จ่ายทรัพยากรนั้น ๆ ด้วย เพื่อที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในเวลาที่เร็วที่สุด และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด

4) เป็นเครื่องมือกระจายทรัพยากร และเงินงบประมาณที่เป็นธรรม งบประมาณสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรมไปสู่จุดที่มีความจําเป็นและทั่วถึงที่จะทําให้หน่วยงานนั้นสามารถดําเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5) เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์ งานและผลงานของหน่วยงาน เนื่องจากงบประมาณเป็นที่รวมทั้งหมดของแผนงานและงานที่จะดำเนินการ ในแต่ละปีพร้อมทั้งผลที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นหน่วยงานสามารถใช้งบประมาณหรือเอกสารงบประมาณที่แสดงถึงงานต่าง ๆ ที่ทำเพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ




แก้ไขล่าสุด ( วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2010 เวลา 00:59 น. )

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร


                สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีดำริ เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2537 กับนายผ่อง เล่งอี้ อธิบดีกรมป่าไม้ พลโทยิ่งยส โชติมาย แม่ทัพภาคที่ 3 นายศิวะ แสงมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ความโดยสรุป คือ

     1. ให้จัดหาพื้นที่ทำกินให้แก่ชาวเขาบ้านแม่พืช และบ้านแปลงที่สี่ที่เคยอาศัยในเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน และอุทยานแห่งชาติแม่วงศ์ โดยจัดที่ทำกินในครอบครัวละ 5 ไร่
    2. พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยภูเขา โดยจัดอาชีพให้ผู้ชายรับจ้างปลูกป่า ผู้หญิงทำเครื่องเงิน เย็บปัก จักสาน
    3. ส่งเสริมให้บริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยว จะทำให้ขายสินค้าของที่ระลึกได้


 วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร ลำน้ำแม่วงศ์ คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า ให้กลับมีความสมบูรณ์ดังเดิม
เพื่อช่วยให้ราษฎรซึ่งขาดแคลนที่ดินทำกิน ทำไร่เลื่อนลอยได้มีที่ดินเป็นหลักแหล่ง ไม่บุกรุกแผ้วถางป่า ทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป
 ที่ตั้งโครงการ

บ้านอุดมทรัพย์ ตำบลหินดาต กิ่งอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร


หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ

สำนักงานป่าไม้จังหวัดกำแพงเพชร


ระยะเวลาดำเนินการ

เริ่มดำเนินการปี 2538


พื้นที่โครงการ

ประมาณ 20,000 ไร่












 แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2545

แผนงาน/กิจกรรม
 
หน่วยวัด

ปริมาณงาน

1. งานอำนวยการและป้องกันรักษาป่า                           ไร่                 20,000
2. บำรุงรักษาสวนเดิมเพื่อการสาธิตและวิจัย                ไร่                 100
3. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี                                     ไร่                1,849
4. บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 7-10 ปี                                   ไร่                1,700
5. เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป                                                     กล้า                50,000
6. เพาะชำหญ้าแฝก                                                          กล้า                 200,000
7. เพาะชำกล้าหวาย                                                       กล้า                    50,000
8. ทำแนวกันไฟ                                                              กม.                    20
9. ฝายต้นน้ำแบบผสมผสาน                                          แห่ง                 30
10. อบรม                                                                             รุ่น                 1
11. งานสาธิตและส่งเสริมปลูกพืชสมุนไพร                งาน              1     
12. งานธนาคารอาหารชุมชน (Food bank)                งาน               1
13. งานสำรวจและประชาสัมพันธ์                                  งาน            1
ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2538 - 2544

ป้องกันและควบคุมไฟป่าในพื้นที่โครงการ 20,000 ไร่
ปลูกและบำรุงรักษาแปลงสาธิตและวนเกษตร 100 ไร่
บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 2-6 ปี 3,600 ไร่
บำรุงรักษาสวนเดิม อายุ 7-10 ปี 400 ไร่
บำรุงสวนเดิมเพื่อการสาธิตและวิจัย 100 ไร่
เพาะชำกล้าแฝก 200,000 กล้า
เพาะชำกล้าไม้ 580,000 กล้า
ปลูกและบำรุงรักษาป่า 4,000 ไร่
จัดทำแนวกันไฟ 10 กิโลเมตร



งานอำนวยการและป้องกันรักษาป่า 20,000 ไร่
http://www.rdpb.go.th/rdpb/visit3/20-50project/50project_18_1.html

วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

"ยาบ้า" อันตรายต่อสังคมไทย

















ลักษณะทางกายภาพ

ยาบ้า มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีเครื่องหมายการค้า เป็นสัญลักษณ์หลายแบบ เช่น รูปหัวม้าและอักษร LONDON มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , 99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99 หรืออาจเป็นลักษณะของเส้นแบ่งครึ่งเม็ด ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้อาจปรากฏบนเม็ดยาด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน หรืออาจเป็นเม็ดเรียบทั้งสองด้าน รูปร่างของยาบ้าอาจพบในลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ กลมแบน รูปเหลี่ยมรูปหัวใจ หรือแคปซูล
ยาบ้า เป็นยากลุ่มแอมเฟทตามีน(Amphetamines) ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า ยาม้ายานี้เคยใช้เป็นยารักษาโรคอยู่บ้างในอดีต สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจและสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ปัจจุบันนิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย




ประวัติ

ยาบ้ามีประวัติที่มายาวนาน โดยสังเคราะห์ได้กว่าหนึ่งร้อยปีแล้ว ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองใช้กระตุ้นความกล้าหาญและความ อดทนของทหารทั้งสองฝ่าย โดยประมาณกันว่ามีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง หลังสงครามการใช้ยาบ้าจึงเริ่มแพร่ขยายออกไปสู่สังคม สาเหตุที่เคยเรียกว่า ยาม้า สันนิษฐานได้หลายแง่ บ้างว่าคงมาจากการที่เคยนำไปใช้กระตุ้นม้าแข่งให้วิ่งเร็ว และอดทน บ้างว่าเนื่องจากทำให้ผู้ใช้ยาคึกคะนอง เหมือนม้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเรียกเป็นยาบ้า ก็เพื่อจะเน้นความเป็นพิษของยา ซึ่งเมื่อใช้มากเกินขนาดหรือใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำ ให้ผู้ใช้ยามีลักษณะเหมือนคนบ้าและเนื่องจากกระบวนการสังเคราะห์สารนี้ไม่ ซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีการลักลอบสังเคราะห์ กันอยู่ในประเทศไทย
ในระยะแรก ยาบ้ามีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า ยาขยัน เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเรียนที่ต้องดูหนังสือสอบดึกๆ ต่อมาเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ใช้แรงงาน คนขับรถบรรทุก มีชื่อเรียกว่า ยาม้า เหตุที่ได้ชื่อนี้มาจากเครื่องหมายการค้าของบริษัท Wellcome ซึ่งเป็นบริษัทแรกที่ส่งยาชนิดนี้มาขายในประเทศไทย
ในสมัยหนึ่งนักเคมี ทดลองสังเคราะห์ สารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้ามากมายหลายตัว โดยหวังว่าคงจะมีสักตัวที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่กลับปรากฏว่าสารเหล่านั้น มักไม่มีประโยชน์แต่กลับมีผลเสียต่อจิตอารมณ์แทบทุกตัว สารอนุพันธุ์เหล่านี้ปัจจุบันมีการ ลักลอบสังเคราะห์กันในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันรวมๆ ว่า Designer Drugs ซึ่งหมายถึงสารที่พยายามดัดแปลงสูตรโครงสร้าง ทางเคมีจากสารเดิม ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อใช้ทดแทนสารเดิมและหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย
ยาบ้ามีสารประกอบหลักในกลุ่มแอมเฟตามีน (Amphetamine) ซึ่งเป็นสารที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาในปี ค.ศ.1887 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ เอเดเลียโน (Edeleno) ในรูปของแอมเฟตามีนซัลเฟต (Amphetamine Sulfate) ต่อมาในปี ค.ศ.1888 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นก็สามารถสังเคราะห์อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนได้อีกตัวหนึ่งคือ เมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้รุนแรงกว่า แอมเฟตามีน และยาบ้าที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ก็มีสารประกอบหลักเป็นเมทแอมเฟตามีนนี้เอง
ปัจจุบัน มีชื่อเรียกว่า ยาบ้า ตามข้อเสนอของนายเสนาะ เทียนทอง ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2539 ซึ่งให้นโยบายว่า ชื่อยาม้า ทำให้ผู้เสพเข้าใจว่า เป็นยาที่กินแล้วให้กำลังวังชา มีเรี่ยวแรง คึกคักเหมือนม้า ควรจะเปลี่ยนไปเรียกว่า ยาบ้า เพื่อให้ผู้เสพตระหนักถึงโทษของยาที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถควบคุมสติได้ เกิดความรังเกียจ ทำให้ไม่อยากเสพ และจะช่วยลดจำนวนผู้เสพยาได้ [1] และเปลี่ยนประเภทจากสิ่งเสพติดประเภท 3 ซึ่งจำหน่ายได้ในร้านขายยา เป็นสิ่งเสพติดประเภท 1 ซึ่งห้ามจำหน่าย และมีบทลงโทษต่อผู้ขายรุนแรง เพื่อให้ผู้ขายกลัวต่อบทลงโทษ แต่กลับทำให้ยาบ้ามีราคาจำหน่ายสูงขึ้น จนสร้างผลกำไรต่อผู้ขายเป็นอย่างมาก และมีผู้ผลิตและจำหน่ายมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมให้เสพติดง่ายขึ้น มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น จนกลายเป็นปัญหาสังคมในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน แถบชายแดนไทยกัมพูชาจะรับซื้อยาบ้าจากทางว้าแดงส่งผ่านมาทางประเทศลาวแล้วนำยาบ้ามาบดแล้วผสมกับแป้งทำยา (Drug Powder) แล้วนำมาอัดขึ้นรูปใหม่เพื่อให้มีจำนวนเม็ดยาเพิ่มขึ้น ตัวสารเสพติดต่อเม็ดจะลดลงเพื่อเพิ่มกำไร

การขนส่ง

ในประเทศผู้ผลิต (กลุ่มว้าแดง) จะห้ามประชาชนของเขาเสพยาเสพติดที่เขาผลิตโดยเด็ดขาด ถ้าทางผู้ผลิตทราบจะลงโทษสถานหนักถึงขั้นยิงทิ้งเลยทีเดียว การขนส่งยาเสพติดจากประเทศผู้ผลิตจะส่งกัน 2 ทางคือ
ทางบก โดยผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่หลังสัตว์ (ลา) หรือให้คนงานใส่เป้พร้อมอาวุธบรรทุกมาตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หรืออ้อมสามเหลี่ยมทองคำผ่านเข้าประเทศลาวสู่ประเทศไทย หรือผ่านลาวลงมากัมพูชาเข้าประเทศไทย
ทางน้ำ ผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่เรือประมงทางฝั่งทะเลอันดามาลงมาทางใต้ของไทย          

การออกฤทธิ์

ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้
โทษทางกฎหมาย

ข้อหา   บทลงโทษ
ผลิต นำเข้า หรือส่งออก          ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หากเป็นการกระทำเพื่อ
จำหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต ( กรณีคำนวณเป็น สารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัม ขึ้นไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อ จำหน่าย)
จำหน่ายหรือครอบครองเพื่อจำหน่าย  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงจำคุกตลอดชีวิตและ
ปรับตั้งแต่ 5 หมื่นบาทถึง 5 แสนบาท หากมีสารบริสุทธิ์ ไม่เกิน 100 กรัม แต่ถ้าเกิน 100 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก ตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต
ครอบครอง      คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัม ต้องระวางโทษจำคุก 1 ถึง 10 ปี และปรับ 1 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท (คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 20 กรัมขึ้นไป ถือว่าครอบครองเพื่อจำหน่าย)
เสพ      ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับ
ตั้งแต่ 5 พันบาท ถึง 1 แสนบาท แต่ปัจจุบันนี้ ผู้เสพจะได้รับการบำบัดจาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เป็นเวลา 3 เดือน
ใช้อุบาย หลอกลวง ขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้ายฯให้ผู้อื่นเสพ   ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท และถ้าเป็นการกระทำต่อหญิงหรือบุคคลซึ่ง ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องระวางโทษประหารชีวิต ถ้ากระทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 4 ปี ถึง 30 ปี และปรับตั้งแต่ 4 หมื่นบาท ถึง 3 แสนบาท
ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ           ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1 หมื่นบาท ถึง 5 หมื่นบาท



การสังเกตผู้ติดยา

วิธีการสังเกตผู้ติดยา
แบบทั่วๆไป ประเภทนี้มีหลายวิธี โดยเริ่มต้นจากพฤติกรรมทั่วๆไปเช่น การไม่พักผ่อน นอนดึกเป็นนิสัยแต่ตื่นตอนเช้าตรู่ ไม่ค่อยออกสังคม มีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่ในสถานที่มิดชิด ปิดห้องนั่งเล่นเกมส์คนเดียว สูบบุหรี่จัด หรือชอบงัดแงะเครื่องจักรกลออกมาทำความสะอาดหรือซ่อมแซม กัดฟันกรามหรือเอามือม้วนที่ปลายผม หรือบีบสิว แต่งหน้าแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เวลาเรียกทานข้าวมักจะไม่มาทานด้วยเพราะยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เสพไม่หิวข้าว
ให้สังเกตตามซอกตู้ลิ้นชักว่ามีอุปกรณ์การเสพซ่อนอยู่หรือไม่ เช่นหลอด เวลาซักผ้าให้ตรวจดูในกระเป๋าเพื่อดูว่ามีเศษฟรอยซองบุหรี่หรือไม่ (มีลักษณะเป็นกระดาษอะลูมิเนียมบางของซองบุหรี่)
ถ้าบ้านท่านมีแผ่นฝ้าเพดานชนิดเปิดได้ให้สังเกตว่าฝ้าเพดานที่บ้านท่านปิดสนิทดีหรือไม่ เพราะผู้เสพยามักนิยมนำอุปกรณ์การเสพไปซ่อนไว้ที่นั่น ถ้าสงสัยให้เปิดดู ส่วนใหญ่ถ้าแผ่นฝ้าเพดานหากถูกเปิดบ่อยมักจะไม่สนิท รอยมือดำๆติดอยู่ที่แผ่นฝ้าเพดาน

ให้สังเกตกลุ่มเพื่อนที่มาหา เด็กกลุ่มติดยามักร่วมทำกิจกรรมที่ดูเป็นมิตรเสมอ เช่นซ้อมดนตรี วาดภาพ เปิดติว แต่ความจริงแล้วพวกเขาหาโอกาสมารวมตัวกันเสพยา ให้สังเกตว่ากิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นเนิ่นนานกว่าปกติหรือไม่เช่น ซ้อมดนตรีต่อวันๆ ละ 10 ชั่วโมง เล่นเกมส์กันนานหลายชั่วโมง ไม่กินข้าวกินปลา ถือว่าไม่ปกติ
ถังขยะคือแหล่งข้อมูลที่สำคัญของผู้เสพ ให้สังเกตตามถังขยะหน้าบ้านเวลาบุตรหลานท่านไปทิ้งขยะ (มักทิ้งเวลาเช้าตรู่) ผู้เสพจะนำอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นไปทิ้งหรือทิ้งลงโถส้วม
สังเกตผู้ติดยาทางกายภาพของผู้เสพ ให้สังเกตว่าคนติดยาบ้าจะมีหน้าตาที่เรียวเล็ก แขนและขาผ่อมรีบ ใบหน้าดำคล้ำ ขอบตาจะดำ เส้นผมแข็งหรือผมล่วง ร่างกายจะผอมผิดปกติ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ มีกลิ่นตัวแรง ลมหายใจจะเหม็น ถ้าไม่แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านติดยาหรือไม่ให้ท่านไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยยา ให้ใช้วิธีการให้คนๆนั้นยื่นมือยื่นแขนทั้งสองแขนเหยียดตรงมาข้างหน้า แล้วกางมือให้ตั้งฉากกับแขนแล้วกางนิ้วออก หากมีการสั่นผิดปกติ มีแนวโน้มว่าผู้นั้นใช้ยาเสพติด
การบำบัดผู้ติดยาบ้า

การบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้า
ไม่ใช่การทำให้ร่างกายปลอดจากยาเสพติด แต่เป็นการบำบัดรักษาความผิดปกติของร่างกายจากผลของยาเสพติด คือ ความผิดปกติของระบบประสาท (คือผู้เสพจะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวและมีความต้องการทำในสิ่งที่คิดหรือสิ่งที่ถูกสั่งจากสมอง ) โดยเฉพาะสมองส่วนกลาง (Central nervous system) และสารสื่อเคมีสมอง (Neurotransmitter) สมองของผู้ติดยาเสพติดต้องการฤทธิ์ของยาเสพติดที่จะกระตุ้นให้ระบบสมองทำงานอย่างปกติ หากช่วงใดขาดยาเสพติดไปกระตุ้นก็จะเกิดอาการผิดปกติขึ้น
อาการผิดปกติของร่างกายที่เห็นทันทีที่หยุดยาบ้า คือ อาการถอนพิษยา ซึ่งจะมีอาการหิวบ่อย กินจุ กระวนกระวาย อ่อนเพลียและมีความรู้สึกจิตใจหดหู่ บางรายมีอาการถึงขนาดอยากฆ่าตัวตาย ในระยะนี้ ผู้ติดยาบ้าจะอยากนอนและนอนเป็นเวลานานในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก
ต่อจากอาการถอนพิษยา ผู้ติดยาบ้าจะมีอาการอยากยามาก ในช่วงนี้ผู้ติดยาเสพติดจะมีความ รู้สึกไม่เป็นสุข ไม่มีกำลังทั้งทางร่างกายและจิตใจ อยากที่จะใช้ยาเพื่อกระตุ้นร่างกายและจิตใจให้เกิดความกระชุ่มกระชวยกลับมาใหม่
การบำบัดรักษายาบ้าในช่วงแรก เป็นการบำบัดรักษาเพื่อลดอาการถอนพิษยาจึงเป็นการให้ยาตามอาการ เพื่อลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหวาดระแวง เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถประคับประคองตนเองผ่านช่วงนี้ไปให้ได้ หลังจากหยุดยาบ้าประมาณ 3-4 สัปดาห์ อาการถอนพิษยาและอาการอยากยาจะลดน้อยลง
แม้ว่าผู้ติดยาบ้าที่ผ่านการบำบัดรักษาขั้นถอนพิษยาแล้ว จะมีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้น ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แต่ความผิดปกติของระบบสมอง พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้แก้ไข จำเป็นที่จะต้องเข้าสู่ขั้นตอน ฟื้นฟูสมรรถภาพ ต่อไป เพื่อให้ผู้ติดยาบ้าหายขาดไม่หวนกลับไปใช้ยาเสพติดอีก
การที่ต้องผ่านขั้นตอนฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูให้สมองของผู้ติดยาเสพติดกลับมาเป็นสมองของคนปกติ เนื่องจากระบบประสาทของคนติดยาต้องการเสพติดเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้มีสารเคมีสมองพอเพียงที่จะทำให้เกิดความสุขไม่วิตกกังวล หากขาดการกระตุ้นจากยาเสพติด สมองของผู้ติดยาเสพติดจะมีปฏิกิริยาตรงกันข้าม คือผู้ติดยาจะหงุดหงิดไม่เป็นสุข มีความเครียด วิตกกังวลและมีความอยากที่จะกลับไปเสพ ยาเสพติดอีก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควรให้ส่วนต่างของสมองได้ปรับตัวกลับเป็นปกติในช่วงที่ระบบสมองปรับตัวเป็นปกติ ผู้ติดยาเสพติดต้องไม่หวนกลับไปเสพยาเสพติดอีก
นอกจากระบบสมองแล้ว พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของผู้ติดยาต้องได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพมีหลายวิธี การที่จะช่วยเหลือผู้ติดยาเสพติด เช่น การเข้าค่ายฟื้นฟูฯ การให้ คำปรึกษา การทำจิตบำบัด และชุมชนบำบัด เป็นต้น เพื่อให้ผู้ติดยาเสพติดเข้าใจถึงปัญหาของตนเองที่นำไปสู่การเสพยาเสพติด ปรับสภาพครอบครัวให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจปัญหาและช่วยกันดูแลประคับประคองผู้ติดยาเสพติด ปรับสภาพกลุ่มเพื่อนให้ห่างไกลจากเพื่อนที่จะมาชักชวนให้เสพยาเสพติด สร้างความมั่นคงทางจิตใจผ่านทางผู้เกี่ยวข้องหรือกลุ่มที่เลิกยาแล้ว ให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถยืนหยัดแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยไม่หวนกลับไปเสพยาอีก
ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์

[2]
ในทางการแพทย์ยาชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า Desoxyn® ภายใต้สิทธิบัตรของบริษัท OVATION Pharmaceuticals จำกัด (โอเวชั่น ฟาร์มาซูติคอล) มีขนาดตั้งแต่ 5 mg, 10 mg, และ 15 mg หนึ่งกล่องบรรจุร้อยเม็ด ใช้บำบัดโรคซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวกับระบบทางหายใจ ภูมิแพ้ ลดความอ้วน
ราคายา Desoxyn ต่อหน่วยประมาณ (แบบถูกกฎหมาย) (หน่วยเงิน US$ ยูเอสดอลล่า)
ขนาด 5 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $306
ขนาด 10 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $408
ขนาด 15 mg บรรจุ 100 เม็ด ราคา $520



เกร็ด

สีของยาบ้าจะบ่งบอกเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น แหล่งผลิต ความเข้มข้นของตัวยา สีที่พบบ่อย ได้แก่
1. สีส้ม คือสีส่วนใหญ่ของยาบ้า แหล่งผลิตตามแนวชายแดนประเทศไทย หรือในประเทศเทศไทยเอง ถือว่าเป็นสีมาตรฐานของยาบ้า 2. สีเหลืองดอกคูณ เป็นยาบ้าที่มีตัวสารเสพติดสูงกว่าแบบสีส้ม แหล่งที่มา ประเทศพม่า 3. สีช็อกโกแลต เอกลักษณ์คือกลิ่นจะหอมเหมือนช็อกโกแลต ทำให้ผู้เสพใหม่ๆติดใจในกลิ่น เพราะเสพง่าย บางครั้งมีรสหวานติดมากับควันด้วย 4. สีกะปิ เป็นยาบ้าโบราณ เกิดเมื่อสมัยยาบ้าระบาดแรกๆ มักจะมีอักษรปั๊มว่า ฬ99 สีนี้ผลิตในเมืองไทยสมัยยังไม่ผิดกฎหมาย 5. สีม่วง ยาบ้าสีนี้ไม่ทราบที่มา แต่จะระบาดในช่วงปี ค.ศ. 1997-1999 เป็นสีที่หายากมากเพราะผลิตออกมาน้อย 6. สีเขียว สีเขียวเป็นยาบ้าชนิดพิเศษ จะมีตัวสารเสพติดแรงกว่ายาบ้าสีอื่นๆถึง 5 เท่า จะใส่มาในถุง 1 ถุงจะมียาบ้าสีเขียวจำนวนเพียง 2 เม็ดเท่านั้น (1 ถุงมี 200 เม็ด) ส่วนอีก 198 เม็ดจะเป็นสีส้ม บางความเชื่อของผู้เสพรวมทั้งผู้ขายเชื่อว่ายาบ้าสีเขียวคือสารดูดความชื้น ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทางผู้ผลิตทำขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าใน 1 ถุงมีจำนวนยาเท่าใด (ยาบ้าสีเขียว 1 เม็ด แสดงว่ามียาบ้าสีส้ม 99 เม็ด) 7. สีแดงอิฐ มีลักษณะสีเหมือนอิฐมอญ มีสารเสพติดค่อนข้างสูง 8. สีชมพู ยาบ้าชนิดนี้เป็นยาบ้าที่คุณภาพต่ำที่สุด ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เสพ และราคาถูก 9. สีขาว เป็นยาบ้ารุ่นแรกสุดของสมัยที่เรียกว่ายาม้า
ถุงที่ใส่ยาบ้า จะเป็นลักษณะเหมือนซองยาสีน้ำเงิน เพราะทางผู้ผลิตต้องการให้สีของถุงบรรจุกลบสีของยาบ้า ถุงประเภทนี้จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหาซื้อไม่ได้ตามท้องตลาด คาดว่าผู้ผลิตผลิตหรือสั่งผลิตขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษ เล็กกว่าถุงใส่ปกติทั่วไป
ยาบ้า 1 ถุงมี 200 เม็ด (ภาษานักค้ายาเรียกว่า 1 คอก) ใน 200 เม็ด จะมีเม็ดสีเขียว 2 เม็ด เป็นตัวคั่น ยาบ้า 10 ถุงเรียกว่า 1 มัด (2000 เม็ด) จะมีลักษณะเป็นมัดพันด้วยกระดาษสีน้ำตาลแล้วห่อด้วยสก็อตเทปใสเพื่อป้องกันน้ำเข้า ยาบ้า 1 แถว มี 10 เม็ด นักค้ายาจะแพ็คใส่หลอดกาแฟพลาสติกเป็นแท่ง ๆ ละ 10 เม็ด ยาบ้า 1 ขา มี 1 ส่วน 4 เม็ด หมายความว่า 1 เม็ดแบ่งเป็นสี่ส่วน
อักษรบนตัวยาบ้า อักษรบนตัวยาบ้ามีหลายชนิดมีที่มาต่างกัน เช่น
ถ้าเป็นตัวภาษาอังกฤษหรือรูปภาพต่างๆ ยาบ้าชนิดนี้จะผลิตในต่างประเทศ ในสมัยก่อนยาบ้าหรือยาขยันนี้ยังไม่ผิดกฎหมาย นักเคมีบางกลุ่มได้สูตรการผลิตมาจากยุโรปจึงนำมาสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง โดยพิมพ์อักษรลงไปบนเม็ดยาว่า 99, ฬ99, ฬ สามแบบที่ว่านี้ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทย (ไทยผลิตก่อนว้าแดง) ต่อมาทางการเริ่มยกระดับเป็นยาเสพติด อักษรไทยต่างๆ เหล่านี้จึงหายไปจากวงการค้ายาเสพติด
อักษร WY อักษรนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อที่ชนกลุ่มน้อย (ว้าแดง) นำยาเสพติดไปผลิตเพื่อจำหน่าย โดยพวกเขาได้ใช้สัญลักษณ์นี้บนตัวยาบ้าที่เขาผลิตขึ้นมา เพื่อให้ลูกค้าทราบว่ายาชนิดนี้ผู้ใดเป็นผู้ผลิต ส่วนความหมายนั้นจนปัจจุบันยังเป็นปริศนาอยู่ว่า WY หมายความว่าอะไร
[แก้]อ้างอิง

ความหมายของอักษร "WY" นั้นย่อมาจาก W หมายถึง ว้า หรือชนเผ่าว้าแดงชนเผ่าที่ผลิต Y หมายถึงสถานที่ที่ผลิต ในที่นี้คือ เมืองยอน เพราะฉนั้น คำว่า WY จึงย่อมาจากคำว่า " ว้า เมือง ยอน " นั้นเอง ยาบ้าหรือ Methamphetamine เป็นยาที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในสหรัฐใช้ยาชนิดนี้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
ป.ป.ส. ในปี 2539 พบว่า ในจำนวน 301 ตัวอย่าง ที่เก็บจากพื้นที่ 50 จังหวัดทั่วประเทศ จำแนกเป็นสีต่าง ๆ ได้ถึง 27 สี และมีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น 20 สัญลักษณ์ ซึ่งทั้งสีและสัญลักษณ์ เหล่านี้จะถูกใช้เป็นตัวโฆษณาถึงคุณภาพและราคาของยาบ้าซึ่งขณะนี้ เป็นความเชื่อของผู้เสพว่า ยาบ้าชนิดสีเขียวจะมีคุณภาพดี ที่สุดโดยตั้งชื่อต่าง ๆ เช่น เขียวมรกต", เขียวปากถุง", "ม้ามรกต" หรือ "มฤตยูสีเขียว" เป็นต้น และถ้าหากมีสัญลักษณ์ WY/- แล้วยิ่งมีคุณภาพดี แต่จากการตรวจหาสารประกอบของยาบ้าแต่ละชนิด มักไม่พบความแตกต่างกันมากนัก ส่วนใหญ่ของยาบ้าใน ท้องตลาดมีส่วนประกอบของเมทแอมเฟตามีน ไฮโดรคลอไรด์ ประมาณ 20-25 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 20-30 คาเฟอีนประมาณ 45-55 มิลลิกรัม หรือร้อยละ 40-60 ที่เหลือเป็นแป้งและน้ำตาล ยาบ้าบางชนิดอาจจะมีอีฟีดีนผสมอยู่บ้าง โดยสารคาเฟอีนและอีฟีดีน ก็เป็นสารกระตุ้นประสาทจำพวกหนึ่ง แต่ออกฤทธิ์ไม่รุนแรงเท่าเมทแอมเฟตามีน ซึ่งถ้าชนิดใดมีเฉพาะสารคาเฟอีน หรือ อีฟีดีน โดยไม่มีสารเมทแอมเฟตามีนเราจะเรียกยาบ้าชนิดนั้นว่า "ยาบ้าปลอม"